Home page
Follow us!
Add Friend
Youtube

ปริญญาโท - HROD

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
Master of Science Program in Human Resource and Organization Development (HROD) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
การจัดการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม–ธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม–พฤษภาคม

ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนมี 2 รูปแบบ ดังนี้

แบบชั้นเรียน ภาคปกติเรียนในเวลาทำการวันจันทร์-วันศุกร์ และภาคพิเศษเรียนนอกเวลาทำการ วันเสาร์-วันอาทิตย์

แบบผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งประสานเวลาและไม่ประสานเวลา ภาคพิเศษเรียนนอกเวลาทำการ วันจันทร์-วันศุกร์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์การที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา

2. มีประสบการณ์การทำงานหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 2 ปี(โดยนับประสบการณ์การทำงานถึงวันรับสมัคร)

3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบันโดยสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาองค์การ ในภาครัฐและ ภาคเอกชน

อาจารย์ นักวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

บุคลากรและผู้บริหารในหน่วยงานราชการหรือสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ

อาชีพอิสระที่เกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์และ/หรือองค์การ อาทิ วิทยากร โค้ช

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาและจำนวนหน่วยกิต ดังต่อไปนี้

หมวดวิชา
แผน 1 แบบวิชาการ
แผน 2 แบบวิชาชีพ
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 15 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก - 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาสัมมนา - 6 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ - 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต -
สอบประมวลความรู้ สอบ สอบ
สอบวิทยานิพนธ์ สอบ -
สอบปากเปล่า - สอบ
รวม
หน่วยกิต
39 หน่วยกิต
รายวิชา
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 12 หน่วยกิต

เป็นวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต และไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ย นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐานในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ดังนี้

  • สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • ND 4000 Foundation for Graduate Studies

  • สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • ND 4000 Foundation for Graduate Studies

  • ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • LC 4001 Reading Skills Development in English for Graduate Studies

  • ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
  • LC 4002 Integrated English Language Skills Development

  • ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • LC 4011 Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies

  • ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
  • LC 4012 Remedial Integrated English Language Skills Development

  • พอ 4000 สถิติและการนำเสนอแผนภาพข้อมูลสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
  • HR 4000 Statistics and Data Visualization for Human Resource and Organization Development

  • หมายเหตุ
    1. เงื่อนไขในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
    2. การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาใดในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด

2. หมวดวิชาหลัก (15 หน่วยกิต)

พอ 6001 นวัตกรรมและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด
HR 6001 Innovation and Scientific Thinking for Smart Decision

พอ 6002 พฤติกรรมมนุษย์และการเรียนรู้ในองค์การ
HR 6002 Organizational Behavior and Learning

พอ 6003 ทฤษฎีองค์การและการจัดการในโลกนวยุคถึงหลังนวยุค
HR 6003 Organization Theory and Management in the Modern to Post-Modern World

พอ 6004 จริยธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
HR 6004 Ethics & Sustainable Development

พอ 6005 ระเบียบวิธีวิจัยและการใช้วิจัยนำการปฏิบัติ
HR 6005 Research Methods and Research-Guided Practices

3. หมวดวิชาเอก ประกอบด้วย 2 สาขาวิชาเอก ดังนี้
(1) สาขาวิชาเอกทรัพยากรมนุษย์เชิงนวัตกรรม ประกอบด้วยวิชาบังคับ 4 วิชา (12 หน่วยกิต)
พอ 7011 การออกแบบทรัพยากรบุคคล ระบบ และการประยุกต์ใช้
HR 7011 Human Resource Design, System, and Implementation

พอ 7012 การปลดปล่อยศักยภาพของผู้มีความสามารถพิเศษ
HR 7012 Unleashing Talent Potential

พอ 7013 การสร้างประสบการณ์ของพนักงานและสุขภาวะที่ดีขององค์การ
HR 7013 Employee Experience and Organization Well-Being

พอ 7014 ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
HR 7014 Leadership for Transformation

(2) สาขาวิชาเอกการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วยวิชาบังคับ 4 วิชา (12 หน่วยกิต)
พอ 7021 การออกแบบองค์การและระบบงานทรัพยากรมนุษย์
HR 7021 Human Resource System by Design

พอ 7022 การวินิจฉัยและการพัฒนาองค์การ
HR 7022 Organization Diagnosis and Development

พอ 7023 ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์
HR 7023 Strategic Performance Management System

พอ 7024 การสื่อสารเชิงกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
HR 7024 Strategic Communication for Change

(3) วิชาเอกไม่ระบุสาขา

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเอกที่ไม่ใช่สาขาวิชาเอกเดียวกันของสาขาวิชาเอกต่าง ๆ จนครบ 4 วิชา (12 หน่วยกิต)

4. หมวดวิชาเลือก (เรียนเฉพาะแผน 2 แบบวิชาชีพ 3 หน่วยกิต)

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกอื่นๆ เป็นวิชาเลือกได้ นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเลือกเรียนวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเป็นวิชาเลือกเสรีไม่เกิน 3 หน่วยกิต โดยไม่ต้องลงเรียนในหมวดวิชาเลือกในหลักสูตร
รายชื่อวิชาเลือก มีดังนี้

พอ 7101 การออกแบบและสถาปัตยกรรมองค์การ
HR 7101 Organization Design and Architecture

พอ 7102 การบริหารโครงการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
HR 7102 Project Management for Human Resource and Organization Development

พอ 7103 การโค้ช การให้คำปรึกษา และการสอนงาน
HR 7103 Coaching, Counselling, and Mentoring

พอ 7104 การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์
HR 7104 Strategic Compensation Management

พอ 7105 แรงงานสัมพันธ์
HR 7105 Labor Relations

พอ 7106 การพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์การ
HR 7106 Transorganization Development

พอ 7107 พลวัตทางวัฒนธรรมและความหลากหลาย
HR 7107 Cultural Dynamic and Diversity

พอ 7108 การให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพ
HR 7108 Professional Consultancy

พอ 7109 แบบแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ
HR 7109 Human Resource Development Blueprint

พอ 7110 จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการปฏิบัติงาน
HR 7110 Positive Psychology for Work Performance

พอ 7111 เครื่องมือและเทคนิคการประเมิน
HR 7111 Tools and Techniques for Assessment

พอ 7112 ศาสตร์แห่งสุข
HR 7112 Happiology

พอ 7113 หัวใจในการออกแบบการเรียนการสอน
HR 7113 Instructional Design Essential

พอ 7114 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยกิจกรรมยามว่าง
HR 7114 Leisurely Human Resource Development

พอ 7115 การเรียนรู้ผ่านเกมและการออกแบบเกมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
HR 7115 Gamification and Game Design in Human Resource Organization Development

พอ 7116 การออกแบบไซเบอร์และการรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์สำหรับองค์การ 1
HR 7116 Designing Cyber and AI Awareness for the Organization

พอ 7117 ความฉลาดทางสังคมและการบริหารจัดการการเข้าสังคม
HR 7117 Social Intelligence and Mingling Management

พอ 7118 การนำเสนอความคิดอย่างทรงพลัง
HR 7118 Powerful Idea Expression

พอ 7119 นวัตกรรมการบริหารจัดการองค์การ
HR 7119 Organization Management Innovation

พอ 7120 การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้
HR 7120 Knowledge Management and Learning Organization

พอ 7121 หัวข้อพิเศษ
HR 7121 Special Topics
หมายเหตุ การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด

5. หมวดวิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (6 หน่วยกิต) (เรียนเฉพาะแผน 2 แบบวิชาชีพ)

พอ 8001 สัมมนาปฏิบัติการวิจัยด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
HR 8001 Workshop in Human Resource and Organization Development Research

พอ 8002 การสัมมนาหัวข้อพิเศษ
HR 8002 Seminar on Special Topics

6. หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)

พอ 9000 การค้นคว้าอิสระ
HR 9000 Independent Studies

7. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)

พอ 9004 วิทยานิพนธ์
HR 9004 Thesis

8. การสอบประมวลความรู้

นักศึกษาจะต้องสอบประมวลความรู้โดยข้อเขียนหลังจากศึกษารายวิชาครบถ้วน

9. การสอบวิทยานิพนธ์

การสอบวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษา

10. การสอบปากเปล่า

นักศึกษาสามารถสอบปากเปล่าได้หลังจากผ่านการสอบประมวลความรู้

วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตร

วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรคือการสร้างมหาบัณฑิต ที่มีความสามารถดังต่อไปนี้
PLOs
  • 1. Digital Intelligence
    • 1.1 สามารถระบุความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละดิจิทัลในการพัฒนางาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เเละองค์การ
    • 1.2 สามารถประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเเละดิจิทัลในการปรับปรุง วิเคราะห์เเละพัฒนาระบบงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เเละองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา
  • 2. Innovative HROD Interventions Design and Development
    • 2.1 สามารถอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ เครื่องมือ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เเละองค์การที่เป็นระบบและมีหลักการรองรับได้
    • 2.2 สามารถออกแบบเครื่องมือและนวัตกรรมในงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เเละองค์การเพื่อตอบโจทย์ตามบริบทขององค์การได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • 3. Ethical and Sustainability Orientation
    • 3.1 สามารถอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยความยั่งยืนและแนวคิดทางจริยธรรมในองค์การเเละสังคมและวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องเเละเหมาะสมในด้าน Sustainable Development Goals มาตรฐานวิชาชีพ ความแตกต่างหลากหลายและความเท่าเทียม (diversity and inclusion) และหลักการอื่นที่เกี่ยวข้อง
    • 3.2 สามารถใช้เเนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เเละองค์การอย่างมีสติ (Mindfulness) โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้าน
  • 4. Effective Communication
    • 4.1 สามารถออกแบบเนื้อหา รูปแบบ เเละเทคนิคการสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดเนื้อหา สร้างความเข้าใจ จูงใจ ให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนจากกลุ่มผู้รับสารเเละผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    • 4.2 สามารถรับฟัง อย่างเปิดใจเพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาตนและองค์การ
    • 4.3 สามารถใช้เทคนิคการเจรจาต่อรอง เพื่อบรรลุเป้าหมายของการสื่อสารเเละการปฏิบัติงาน
  • 5. Life-long Learning to Keep up with HR-Trends
    • 5.1 สามารถตั้งคำถาม เเสวงหา ข้อมูล ความรู้ เรียนรู้ สิ่งใหม่และหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความคิด ความรู้ ความสามารถของตนเองอยู่เสมอ
    • 5.2 สามารถสร้างและต่อยอดองค์ความรู้ หาคำตอบ เพื่อการเข้าใจ และรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน ในองค์การ
  • 6. Research Skills
    • 6.1 สามารถตั้งคำถามเพื่อการพัฒนา คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ออกแบบการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้เชิงวิชาการหรือวิชาชีพ
    • 6.2 สามารถประยุกต์ใช้กระบวนการในการวิจัยใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด
  • 7. Change Agent
    • 7.1 สามารถออกแบบการดำเนินการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ภายใต้บริบทองค์การ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาวะผู้นำ การจูงใจ ภายใต้บริบทขององค์การ

ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตลอดหลักสูตร

ภาคพิเศษ     ภาคปกติ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร 085-5544-623 02-727-3491 (คุณภัทรวดี) email: hrd@nida.ac.th

Back to Top