Home page
Follow us!
Add Friend
Youtube

ปริญญาโท

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์และการขับเคลื่อนองค์การ
Master of Science Program in Organization Science and Catalyst

ปรัชญาหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์และการขับเคลื่อนองค์การ มุ่งผลิตผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับขององค์การให้มีทักษะ ความรู้ และคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการบริหาร พัฒนา และขับเคลื่อนองค์การ ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาในระดับบุคคลตลอดจนถึงระดับองค์การ ด้วยจุดมุ่งหมายหลักคือ การสร้างผู้บริหารให้มีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ตระหนักรู้ถึงแรงกระทบทั้งภายในและภายนอกองค์การ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก และสามารถหาวิธีการหรือแนวทางเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนองค์การได้อย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงจริยธรรมและวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้กับการปฏิบัติจริงทั้งในระดับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์การ ในบริบทขององค์การประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน รวมทั้งสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเพื่อเสริมสร้างให้องค์การและผู้ถือประโยชน์ร่วมก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม–ธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม–พฤษภาคม

ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

แบบชั้นเรียน ภาคปกติเรียนในเวลาทำการวันจันทร์-วันศุกร์ และภาคพิเศษเรียนนอกเวลาทำการ วันเสาร์-วันอาทิตย์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ      พลเรือน (ก.พ.) หรือองค์การที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา

2. ประสบการณ์ทำงานให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน คือ
        - ภาคพิเศษ มีประสบการณ์การทำงานหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 1 ปี และ/หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยกว่า 1 ปี (โดยนับประสบการณ์การทำงานจนถึงวันที่รับสมัคร)
        - ภาคปกติ
                • กรณีประสบการณ์ทำงาน มีประสบการณ์การทำงานหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี    ไม่น้อยกว่า 1 ปี และ/หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยกว่า 1 ปี (โดยนับประสบการณ์การทำงานจนถึงวันที่รับสมัคร)
                • กรณีทั่วไป สอบสัมภาษณ์ (เป็นไปตามประกาศของสถาบัน)

                  • กรณีพิเศษ ทุนส่งเสริมการศึกษา (เป็นไปตามประกาศของสถาบัน)

3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบันโดยสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ที่ปรึกษาองค์การด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์การ

อาจารย์ และนักวิชาการ

ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ และ/หรือ ผู้สืบทอดธุรกิจ หรือกลุ่ม Start-up หรือ ธุรกิจครอบครัว

ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารจัดการคนในองค์การ/ส่วนงาน ซึ่งไม่ใช่ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์โดยตรง

ผู้บริหารองค์การระดับต้นที่ต้องการก้าวขึ้นสู่ระดับกลาง ผู้ที่เป็น Successor ขององค์การที่ต้องการเตรียมความพร้อม

ผู้บริหารองค์การระดับกลาง และผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปที่ต้องการพัฒนาต่อยอด ที่ต้องบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยต้องบริหารคนและทีมงาน แต่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์โดยตรง

อาชีพอิสระอื่นๆ เช่น ผู้ฝึกสอน/อบรม ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์การ

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาและจำนวนหน่วยกิต ดังต่อไปนี้

หมวดวิชา
แผน 2 แบบวิชาชีพ
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ สอบ
สอบปากเปล่า สอบ
รวม
36 หน่วยกิต
รายวิชา
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 12 หน่วยกิต

เป็นวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต และไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ย นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐานในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ดังนี้

  • สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • ND 4000 Foundation for Graduate Studies

  • ภส 4001  การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • LC 4001  Reading Skills Development in English for Graduate Studies

  • ภส 4002  การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
  • LC 4002  Integrated English Language Skills Development

  • ภส 4011  การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • LC 4011  Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies

  • ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
  • LC 4012 Remedial Integrated English Language Skills Development

  • ศอ 4000  สถิติและการนำเสนอแผนภาพข้อมูลสำหรับศาสตร์และการขับเคลื่อนองค์การ
  • OC 4000  Statistics and Data Visualization for Organization Science and Catalyst

  • หมายเหตุ
    1. เงื่อนไขในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
    2. การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาใดในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด

2. หมวดวิชาหลัก (15 หน่วยกิต)

ศอ 6001 การสร้างกลยุทธ์องค์การและพื้นฐานธุรกิจ
HR 6001 Innovation and Scientific Thinking for Smart Decision

ศอ 6002 หัวใจของความยั่งยืน
OC 6002 Sustainability Essentials

ศอ 6003 จิตวิทยาและการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ
OC 6003 Entrepreneurial Psychology and Learning

ศอ 6004 แนวคิด การออกแบบ และวิธีวิจัยท่ามกลางพลวัตในองค์การ
OC 6004 Research Concept, Design and Methods in Organizational Dynamics

ศอ 6005 ศาสตร์และศิลป์ในการนำ
OC 6005 Art and Science in Leading

3. หมวดวิชาเอก (15 หน่วยกิต)


ศอ 7001 พลังของวัฒนธรรมและการสื่อสาร
OC 7001 Power of Culture and Communication

ศอ 7002 ศาสตร์การตัดสินใจภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเลี่ยงได้
OC 7002 Decision-Making Science in the Inevitable Changes

ศอ 7003 การบริหารโครงการในองค์การ
OC 7003 Organizational Project Management

ศอ 7004 ศักยภาพ ผลการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ และทุนมนุษย์
OC 7004 People Capital, Experiences, Performance, and Potential

ศอ 7005 คู่มือการเล่นขององค์การ
OC 7005 Organization Playbook  

4. หมวดวิชาเลือก (เรียนเฉพาะแผน 2 แบบวิชาชีพ 3 หน่วยกิต)

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเป็นวิชาเลือกไม่เกิน 3 หน่วยกิต โดยไม่ต้องลงเรียนในหมวดวิชาเลือกในหลักสูตร รายชื่อวิชาเลือกของหลักสูตร มีดังนี้

ศอ 7101  การออกแบบและสถาปัตยกรรมองค์การ
OC 7101  Organization Design and Architecture

ศอ 7102  การบริหารโครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
OC 7102  Project Management for Human Resource and Organization Development

ศอ 7103  การโค้ช การให้คำปรึกษา และการสอนงาน
OC 7103  Coaching, Counselling, and Mentoring

ศอ 7104  การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์
OC 7104  Strategic Compensation Management

ศอ 7105  แรงงานสัมพันธ์
OC 7105  Labor Relations

ศอ 7106  การพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์การ  
OC 7106  Transorganization Development

ศอ 7107  พลวัตทางวัฒนธรรมและความหลากหลาย
OC 7107  Cultural Dynamic and Diversity

ศอ 7108  การให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพ
OC 7108  Professional Consultancy

ศอ 7109  แบบแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ
OC 7109  Human Resource Development Blueprint

ศอ 7110  จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการปฏิบัติงาน
OC 7110  Positive Psychology for Work Performance

ศอ 7111  เครื่องมือและเทคนิคการประเมิน
OC 7111 Tools and Techniques for Assessment

ศอ 7112  ศาสตร์แห่งสุข
OC 7112  Happiology

ศอ 7113  หัวใจในการออกแบบการเรียนการสอน
OC 7113  Instructional Design Essential

ศอ 7114  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยกิจกรรมยามว่าง
OC 7114  Leisurely Human Resource Development

ศอ 7115  การเรียนรู้ผ่านเกมและการออกแบบเกมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
OC 7115  Gamification and Game Design in Human Resource Organization Development

ศอ 7116  การออกแบบไซเบอร์และการรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์สำหรับองค์การ
OC 7116  Designing Cyber and AI Awareness for the Organization

พอ 7117 ความฉลาดทางสังคมและการบริหารจัดการการเข้าสังคม
HR 7117 Social Intelligence and Mingling Management

ศอ 7118  การนำเสนอความคิดอย่างทรงพลัง
OC 7118  Powerful Idea Expression

ศอ 7119  นวัตกรรมการบริหารจัดการองค์การ 
OC 7119  Organization Management Innovation

ศอ 7120  การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้
OC 7120  Knowledge Management and Learning Organization

ศอ 7121  หัวข้อพิเศษ
OC 7121  Special Topics
หมายเหตุ การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด

5. หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)

ศอ 9000 การค้นคว้าอิสระ
OC 9000 Independent Studies

6. การสอบประมวลความรู้

นักศึกษาจะต้องสอบประมวลความรู้โดยข้อเขียนหลังจากศึกษารายวิชาครบถ้วน

7. การสอบปากเปล่า

นักศึกษาสามารถสอบปากเปล่าได้หลังจากผ่านการสอบประมวลความรู้

วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตร


วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรคือ การสร้างมหาบัณฑิตที่บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเมื่อเรียนจบจากหลักสูตร ดังแสดงในตาราง


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

1. Utilizer of Megatrends

(ผู้ใช้ประโยชน์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก)

PLO 1 Identify megatrends that impact the management and development of organizations or communities.

ระบุถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกที่ส่งผลต่อการบริหารหรือพัฒนาองค์การหรือชุมชน

2. Success Driver

(ผู้ผลักดันความสำเร็จ)

PLO 2 Diagnose the organization's goals, processes, and management, considering both an outside-in and inside-out perspective, to ensure its financial and non-financial success.   

วินิจฉัยเป้าหมาย กระบวนการ การบริหารจัดการขององค์การ ทั้งจากมุมมองภายนอกสู่ภายในและภายในสู่ภายนอก เพื่อความสำเร็จทางการเงินและไม่ใช่การเงินขององค์การ
3. Systematic Knowledge Inquirer (ผู้สืบค้นความรู้อย่าง เป็นระบบ)

PLO 3 Utilize the scientific process to synthesize knowledge and generate intelligent solutions.  

สังเคราะห์ความรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อริเริ่มวิธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด

4. Change Navigator

(ผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง)

PLO 4 Navigate people through change by understanding and influencing them.  

นำบุคคลสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยการทำความเข้าใจและจูงใจ

5. Well-Rounded Decision Maker

(ผู้ตัดสินใจครอบคลุมรอบด้าน)

PLO 5 Make well-rounded decisions using data-driven approaches, and considering rationality, ethics, diversity, inclusion, and stakeholder well-being.

ตัดสินใจอย่างรอบด้านและรอบคอบ โดยการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน และคำนึงถึงหลักการและเหตุผล หลักจริยธรรม ความแตกต่างหลากหลาย การไม่แบ่งแยก และความอยู่ดีมีสุขของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตลอดหลักสูตร
ภาค แผนการศึกษา ปีที่ 1 (บาท/คน) ปีที่ 2 (บาท/คน) รวม
ปกติ แผน 2 แบบวิชาชีพ 65,100.- บาท 34,100.- บาท 99,200.- บาท
พิเศษ แผน 2 แบบวิชาชีพ 101,600.- บาท 75,600.- บาท 177,200.- บาท
 
ภาคพิเศษ     ภาคปกติ

ผู้อำนวยหลักสูตร
  • อ.ดร.ก่อเกียรติ์ มหาวีรชาติกุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  • รศ.ดร.จุฑามาศ แก้วพิจิตร
  • รศ.ดร.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี
  • อ.ดร.บงกช เจนจรัสสกุล

รายชื่ออาจารย์ผู้สอน

  • รศ.ดร.จุฑามาศ แก้วพิจิตร่
  • รศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี
  • อ.ดร.บงกช เจนจรัสสกุล
  • ศ.(เกียรติคุณ) ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่
  • ศ.ดร.จิรประภา อัครบวร
  • รศ.ดร.นันทา สู้รักษา
  • รศ.ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม
  • รศ.ดร.บุษกร วัชรศรีโรจน์
  • รศ.ดร.กฤตกร นวกิจไพฑูรย์
  • รศ.ดร.ดาวิษา ศรีธัญรัตน์
  • ผศ.ดร.ภาวิณี เพชรสว่าง
  • อ.ดร.ก่อเกียรติ์ มหาวีรชาติกุล
  • อ.ดร.พนาสิน จึงสวนันทน์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

อาจารย์ ดร.พนาสิน จึงสวนันทน์
โทร 02-727-3474 (คุณพิไลวรรณ์) email: hrd@nida.ac.th

Back to Top