หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และองค์การ
Doctor of Philosophy Program in Human and Organization Development Innovation
ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญาและสาขา
การดำเนินการหลักสูตร
วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 |
เดือนสิงหาคม – ธันวาคม |
ภาคการศึกษาที่ 2 |
เดือนมกราคม – พฤษภาคม |
ภาคฤดูร้อน |
เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม |
|
|
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แบบ 1 (1.1) |
48 หน่วยกิต |
อาจมีการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต |
แบบ 2 (2.1) |
63 หน่วยกิต |
ศึกษารายวิชา 27 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต |
แบบ 2 (2.2) |
90 หน่วยกิต |
ศึกษารายวิชา 42 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต |
** หมายเหตุ แบบ 2 (2.2) ยังไม่เปิดรับในปีการศึกษา 2562
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรคือการสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถดังต่อไปนี้
- มีมุมมองเชิงสากลและท้องถิ่น (World and Indigenous Perspectives) - การมีมุมมองและสามารถบูรณาการความรู้ที่เป็นสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดการกับประเด็นสำคัญในการพัฒนามนุษย์และองค์การได้
- สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Creation) - ความสามารถในการออกแบบเเละพัฒนานวัตกรรมในสาขาวิชาการพัฒนามนุษย์และองค์การ
- มีภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน (Sustainable Leadership) - ความสามารถในการเสนอแนะและสร้างความเปลี่ยนเเปลงต่างๆ ผ่านกระบวนการวิจัยและนำสู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- มีคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics and Morality) - ความสามารถในการตระหนักและคำนึงถึงประเด็นและหลักการทางจริยธรรมสำคัญที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและการทำงานในวิชาชีพ
- ปัญญาเชิงมนุษย์ (Human Intelligence) - ความสามารถในการแสวงหาองค์ความรู้และประยุกต์ใช้องค์ความรู้เหล่านั้นในการปฏิบัติงานและขับเคลื่อนองค์การและสังคม
- สัญชาตญาณทางวิชาการ (Scholar Instinct) - ความสามารถในเชิงวิชาการในการวิพากษ์ และระบุปัญหา หลักการและเหตุผลเพื่อริเริ่มงานวิจัย ตลอดจนการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
1. อาจารย์และนักวิชาการในมหาวิทยาลัย
2. นักวิจัยในสถาบันวิจัย
3. ผู้กำหนดนโยบายในภาครัฐและเอกชน
4. ที่ปรึกษา
5. ผู้บริหารองค์การ
6. นักปฏิบัติในสาขาวิชาชีพการพัฒนามนุษย์หรือการพัฒนาองค์การ
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
การสำเร็จการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นักศึกษาจะต้องศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรและทำวิทยานิพนธ์เสร็จสมบูรณ์ สำหรับนักศึกษาแบบ 1(1.1) ศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรซึ่งมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ประกอบด้วย 48 หน่วยกิต สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สำหรับนักศึกษาแบบ 2(2.1) ศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรซึ่งมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 63 หน่วย ประกอบด้วย 27 หน่วยกิตสำหรับวิชาเรียน และ 36 หน่วยกิต สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ส่วนนักศึกษาแบบ 2(2.2) ศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรจำนวน 81 หน่วยกิต ประกอบด้วยอย่างน้อย 33 หน่วยกิตสำหรับวิชาเรียน และ 48 หน่วยกิตสำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ในสาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และองค์การ จะต้องผ่านหลักเกณฑ์ดังนี้
- 3.1 สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถาบันกำหนด
- 3.2 ศึกษาครบถ้วนรายวิชาตามหลักสูตรและผ่านการทดสอบ ได้คะแนนเฉลี่ย 3.00
- 3.3 แบบ 1(1.1) ผ่านการสอบข้อเสนอวิทยานิพนธ์และการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตภายใน 6 ปี หลังจากเข้ารับการศึกษา
- 3.4 ผ่านการทดสอบของรายวิชาทั้งหมดในหลักสูตรภายใน 2 ปี หลังจากเข้ารับการศึกษาสำหรับ
นักศึกษาแบบ 2(2.1) และ ภายใน 3 ปี สำหรับนักศึกษาแบบ 2(2.2) ทั้งนี้อาจมีข้อยกเว้น ซึ่งอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของคณบดีคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสอบนั้นรวมไปถึงการสอบถามจากคณะกรรมการถึงการเตรียมตัวของนักศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยและให้โอกาสอภิปรายถึงวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอ
- 3.5 ผ่านการสอบข้อเสนอวิทยานิพนธ์และการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ภายใน 6 ปี หลังจากเข้ารับการศึกษา สำหรับนักศึกษาแบบ 2(2.1) หรือภายใน 8 ปี สำหรับนักศึกษาแบบ 2(2.2) และผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาได้จะต้องเขียนข้อเสนอและวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ
- 3.6 ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และองค์การ ดังนี้
- แบบ 1(1.1) และแบบ 2 (2.2) สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แบบ 2(2.1) สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง
ความคาดหวังของหลักสูตร
ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม |
LO4 Ethics and Morality : ความสามารถในการตระหนักและคำนึงถึงประเด็นและหลักการทางจริยธรรมสำคัญที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและการทำงานในวิชาชีพ
|
2. ด้านความรู้ |
LO2 Innovation Creation : ความสามารถในการออกแบบเเละพัฒนานวัตกรรมในสาขาวิชาการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
|
LO5 Human Intelligence : ความสามารถในการแสวงหาองค์ความรู้และประยุกต์ใช้องค์ความรู้เหล่านั้นในการปฏิบัติงานและขับเคลื่อนองค์การและสังคม |
3. ด้านทักษะทางปัญญา |
LO2 Innovation Creation : ความสามารถในการออกแบบเเละพัฒนานวัตกรรมในสาขาวิชาการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
|
LO6 Scholar Instinct : ความสามารถในเชิงวิชาการในการวิพากษ์ และระบุปัญหา หลักการเเละเหตุผลเพื่อริเริ่มงานวิจัย ตลอดจนการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้ |
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ |
LO1 World and Indigenous Perspectives : การมีมุมมองและสามารถบูรณาการความรู้ที่เป็นสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดการกับประเด็นสำคัญในการพัฒนามนุษย์และองค์การได้ |
|
LO2 Innovation Creation : ความสามารถในการออกแบบเเละพัฒนานวัตกรรมในสาขาวิชาการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
|
LO5 Human Intelligence : ความสามารถในการแสวงหาองค์ความรู้และประยุกต์ใช้องค์ความรู้เหล่านั้นในการปฏิบัติงานและขับเคลื่อนองค์การและสังคม |
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
LO3 Sustainable Leadership : ความสามารถในการเสนอแนะและสร้างความเปลี่ยนเเปลงต่างๆ ผ่านกระบวนการวิจัยและนำสู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต |
|
LO6 Scholar Instinct : ความสามารถในเชิงวิชาการในการวิพากษ์ และระบุปัญหา หลักการเเละเหตุผลเพื่อริเริ่มงานวิจัย ตลอดจนการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้ |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
ภส 4003 |
การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการขั้นสูง |
LC 4003 |
Advanced Integrated English Language Skills Development |
ภส 6000 |
การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษระดับสูงสำหรับบัณฑิตศึกษา |
LC 6000 |
Advanced Reading and Writing in English for Graduate Studies |
หมายเหตุ : การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา และประกาศของสถาบัน
หมวดวิชา
นพ 6001 |
นวัตกรรมเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
HODI 6001 |
Integrated Innovation for Human and Organization Development |
นพ 6002 |
ญาณวิทยาและการค้นคว้า |
HODI 6002 |
Epistemology & Inquiry |
นพ 6003 |
การสร้างทฤษฎีเพื่อการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
HODI 6003 |
Theory Development for Human and Organization Development |
หมวดวิชาระเบียบวิธีวิจัย
นพ 6004 |
การวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูง |
HODI 6004 |
Advanced Qualitative Research |
นพ 6005 |
การวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง |
HODI 6005 |
Advanced Quantitative Research |
หมวดวิชาเอก
นพ 7101 |
การพัฒนามนุษย์เพื่ออนาคต |
HODI 7101 |
Futuristic Human Development |
นพ 7102 |
การพัฒนาองค์การเชิงนวัตกรรม |
HODI 7102 |
Innovative Organization Development |
นพ 7103 |
ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ |
HODI 7103 |
Entrepreneurial Leadership |
หมวดวิชาเลือก
นพ 7201 |
ความฉลาดทางวัฒนธรรมในการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
HODI 7201 | Cultural Intelligence in Human and Organization Development |
นพ 7202 | การสื่อสารในการพัฒนาองค์การ |
HODI 7202 | Communication in Organization Development |
นพ 7203 | การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ |
HODI 7203 | Knowledge Management & Learning Organization |
นพ 7204 | การตรวจสอบประเมินผลในการพัฒนามนุษย์และองค์การ |
HODI 7204 | Human and Organization Development Audit Evaluation |
นพ 7205 | การเป็นที่ปรึกษาอย่างมืออาชีพ |
HODI 7205 | Professional Consultant |
นพ 7206 | องค์การและสังคมดิจิทัล |
HODI 7206 | Digital Organization and Society |
หมวดวิชาเลือก
นพ 9900 |
วิทยานิพนธ์ |
HODI 9900 | Dissertation |
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตร |
แบบ 1 (1.1) |
แบบ 2 (2.1) |
แบบ 2 (2.2) |
ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน |
ไม่นับหน่วยกิต |
ไม่นับหน่วยกิต |
ไม่นับหน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาพื้นฐาน |
อาจมีการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต |
อาจมีการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต |
15 หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาหลัก |
อาจมีการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
ง. หมวดวิชาระเบียบวิธีวิจัย |
อาจมีการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
จ. หมวดวิชาเอก |
อาจมีการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
ฉ. หมวดวิชาเลือก |
อาจมีการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต |
3 หน่วยกิต |
3 หน่วยกิต |
ช. หมวดวิทยานิพนธ์ |
48 หน่วยกิต |
36 หน่วยกิต |
48 หน่วยกิต |
ฌ. การสอบคุณสมบัติ |
สอบ |
สอบ |
สอบ |
|
48 หน่วยกิต |
63 หน่วยกิต |
90 หน่วยกิต |